Mae Hong Son Medicinal and Spicy Plant Research Station
สารบัญเว็บ  
  HOME
  => ข้อมูลพื้นฐานของสถานี
  => พันธุ์พืชป่า
  => สาระน่ารู้
  MAP/ SATELLITE IMAGE
  FLOOD FORECAST (NASA)
  WEATHER FORECAST
  CONTACT US
  LOG-IN
  LINKS
สาระน่ารู้

สาระน่ารู้

โครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม 
Joint Management of Protected Areas : JoMPA

     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ร่วมมือกับ โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ในการดำเนินการโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม (Joint Management of Protected Areas) หรือที่เรียกสั้นๆว่า โครงการจอมป่า (JoMPA) ในการดำเนินงานของโครงการนั้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย NGOs องค์กรประชาคม นักวิชาการ นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป ร่วมมือกันสรรหา ทดลอง และรวบรวมผลงานเพื่อเสนอต่อภาครัฐ ถึงกลไกและมาตรการที่เหมาะสมในการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม และอยู่บนพื้นฐานของการจัดการเชิงระบบนิเวศ โดยมีระยะเวลาดำเนินงานทั้งสิ้น 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 ถึง 31 มีนาคม 2551

พื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

     พื้นที่นำร่องเพื่อดำเนินการ ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดังนี้

1. ผืนป่าตะวันตก
     ครอบคลุมอุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง รวมพื้นที่ประมาณ 18,272 ตารางกิโลเมตร จากจังหวัดตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี และลงมาถึงจังหวัดกาญจนบุรี ผืนป่าแห่งนี้มีป่ามรดกโลกทางธรรมชาติทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งอยู่ใจกลาง อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย

2. อุทยานแห่งชาตินำร่องเพื่อการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
     กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เริ่มต้นทดลองดำเนินการไว้แล้วตั้งแต่ปี 2544 จำนวน 6 แห่ง คือ
     2.1 อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน
     2.2 อุทยานแห่งชาติออบหลวง จังหวัดเชียงใหม่
     2.3 อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และเลย
     2.4 อุทยานแห่งชาติแหลมสน จังหวัดระนอง และพังงา
     2.5 อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จังหวัดสตูล
     2.6 อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

3. อุทยานแห่งชาติทางทะเล
     คัดเลือกเฉพาะอุทยานแห่งชาติที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศและการท่องเที่ยว ซึ่งมีพลังประชาชนและกลุ่มองค์กรที่เข้มแข็งพร้อมใจกันอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คือ
     3.1 อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง
     3.2 อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     การดำเนินการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภายใต้โครงการจอมป่า มุ่งหวังให้ประเทศไทยมีกลไกให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศต่างๆ ในพื้นที่คุ้มครองของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจกันของทุกส่วน ทุกองค์กร ทั้งภาครัฐและประชาชนที่เกี่ยวข้องต่างๆ ร่วมกันรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน และร่วมกันรับประโยชน์ที่ธรรมชาติจะเกื้อกูลให้ ภายใต้สิทธิอันชอบตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

หลักในการจัดการเชิงระบบนิเวศ

     จากการผลการศึกษารูปแบบการใช้หลักในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเชิงระบบนิเวศ ในบริเวณผืนป่าตะวันตก ซึ่งประกอบไปด้วยอุทยานแห่งชาติ 11 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 6 แห่ง ในช่วงปี 2542-2547 ได้นำเข้ามาสู่การพิจารณากำหนดเขตการจัดการพื้นที่ตามศักยภาพเชิงระบบนิเวศของผืนป่าตะวันตกว่า ควรแบ่งเขตการจัดการออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
     1. เขตป่าอนุรักษ์เพื่อการสงวนและคุ้มครองสภาพแวดล้อมธรรมชาติอย่างเข้มงวด
     2. เขตป่าอนุรักษ์เพื่อการคุ้มครองสภาพธรรมชาติ
     3. เขตป่าอนุรักษ์เพื่อการศึกษาสภาพธรรมชาติและนันทนาการ
     4. เขตป่าอนุรักษ์ที่ต้องควบคุมการใช้ประโยชน์ 
     ซึ่งแนวทางในการนำเขตจัดการทั้ง 4 ไปสู่การปฏิบัตินั้น จะเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการจอมป่านั่นเอง


ข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ของ สำนักงานนวัตกรรมพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 

 

 


 

พรรณไม้น่ารู้

      จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองแห่งขุนเขาเจ้าของคำขวัญ "หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง" นอกจากดอกบัวตอง สีเหลือง แห่งดอยแม่อูคอ อำเภอขุนยวมแล้ว เรามาทำความรู้จักกับดอกไม้อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ดอกไม้ที่ว่านี้คือ เมียวเมียวหรือ เมียวดี ไม่น่าแปลกใจที่คนทั่วไปจะยังไม่ค่อยรู้จักดอกไม้ชนิดนี้มากนัก 

เมียวเมียว, เมียววดี (Vaccaria pyramidata) อยู่ในวงศ์ Caryophyllaceae


เมียวเมียว หรือ เมียววดี (Vaccaria pyramidata)

     เมียวเมียว สีขาวถึงชมพู กลีบดอกบอบบาง พลิ้วไหวเวลาต้องลมนี้มีให้ยลโฉมในช่วงเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอนนิยมนำไปไหว้พระ หรือนำไปประดับตกแต่งห้อง ในช่วงหน้าร้อนหากนำดอกเมียวเมียวมาจัดเป็นช่อ ปักแจกันวางไว้ในห้อง จะช่วยให้บรรยากาศที่ร้อนอบอ้าวผ่อนคลายลง สบายตากับสีขาวสลับชมพูของดอกเมียวเมียว ดอกไม้ที่น่าสนใจของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     เป็นพืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมแคบ ปลายใบแหลม ขนาดประมาณกว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 2-4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว-ชมพู ผลแห้งแตกได้ขนาดเล็ก เมล็ดขนาดเล็กสีดำ-น้ำตาล

 

 

 
LOG IN  
 
Username:
Password:
 
There have been 2183 visitors (4540 hits) total viewed on mhsplant.page.tl since Jan 21, 2007
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free